PERSPECTIVE OF AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

0
474

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC เป็นการพัฒนามาจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม  2510 โดยมีประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาได้รับประเทศสมาชิกเพิ่ม ได้แก่ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา จนปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ

ต่อมาในปี ในปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้ประกาศเจตนารมณ์ให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ตามปฏิญญาบาหลี (Bali Concord II) ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ  ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Council)

ต่อมาในปี 2550 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี ค.ศ. 2015 หรือพ.ศ. 2558 แทน

โดยมีการจัดทำกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)ซึ่งเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียน ที่จะเปลี่ยนสถานะของอาเซียนจากการรวมตัวในรูปแบบสมาคม เป็นองค์กรระหว่างประเทศ (International Organization) ที่มีฐานะทางกฎหมาย โดยกฎบัตรฯ นี้ มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2551

สำหรับการจัดตั้ง AEC ภายในปี 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีเสถียรภาพ การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน และการเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

อาเซียนได้จัดทำ AEC Blueprint ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการด้านเศรษฐกิจ ที่กำหนดมาตรการและกรอบเวลาในการดาเนินงานที่ชัดเจน 4 ด้านหลัก ได้แก่

                1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม

                2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและการปรับประสานนโยบายที่จะช่วยสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น กฎหมายและนโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน และเหมืองแร่

                3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน โดยการส่งเสริมและพัฒนา SMEs และการเสริมสร้างสมรรถนะของประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ภายใต้ความริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration:IAI) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน

                4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค ผ่านการจัดทาความตกลงการค้าเสรีและความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เป็นต้น

รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการผลิตและการจำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก

          สิ่งที่จะเกิดขึ้นใน AEC การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี

          เป้าหมาย คือ การยกเลิกอุปสรรคทางการค้า ทั้งด้านภาษีและที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับประสานกฎระเบียบและมาตรการทางการค้าต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น ด้านมาตรฐานและการรับรอง กฎระเบียบด้านเทคนิค พิธีการศุลกากร สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phyto-sanitary: SPS) เป็นต้น

          ตาม AEC Blueprint สมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์) จะต้องยกเลิกภาษีนาเข้าระหว่างกันให้หมดไปภายใน 1 มกราคม 2553 ในขณะที่ สมาชิกอาเซียนใหม่ (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) ได้รับความยืดหยุ่นให้เป็นภายใน 1 มกราคม 2558

          ส่วนปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers: NTBs) กำหนดให้มีการยกลิกเป็นระยะๆ โดยสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย) จะต้องยกเลิก NTBs ให้หมดไป ภายใน 1 มกราคม 2553 ฟิลิปปินส์ ภายใน 1 มกราคม 2555 และ CLMV ภายใน 1 มกราคม 2558

การเคลื่อนย้ายบริการเสรี

          เป้าหมาย คือ การลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดในด้านต่างๆ และเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับบุคคล/นิติบุคคลสัญชาติอาเซียน สำหรับทุกสาขาบริการ และทุกรูปแบบ (mode) ของการให้บริการ โดยกำหนดให้สมาชิกอาเซียนทยอยเปิดตลาดบริการให้แก่กันเป็นระยะๆ และเปิดตลาดในระดับที่สูงขึ้น จากการเจรจาจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดเป็นรอบๆ โดยมีเป้าหมายให้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในสาขาบริการสำคัญ (Priority Integration Sectors: PIS) ได้แก่ ICT สุขภาพ ท่องเที่ยว การบิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) สาขาโลจิสติกส์ ภายในปี 2556 (ค.ศ. 2013) และสาขาอื่นๆ ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)

การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี

          เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านบริการของอาเซียน โดยผ่านการจัดทาข้อตกลงการยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangements: MRA) ในสาขาบริการวิชาชีพ ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศภาคี 2 ประเทศหรือมากกว่า เพื่อให้มีการยอมรับร่วมในการรับรองคุณสมบัติวิชาชีพของแต่ละฝ่าย โดยสอดคล้องกับกฎระเบียบและเงื่อนไขต่างๆ ภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยอานวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายผู้ให้บริการสาขาวิชาชีพในภูมิภาค โดยอาเซียนได้สรุปผลการจัดทา MRA และลงนามโดยรัฐมนตรีอาเซียนแล้ว 8 สาขา ได้แก่ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ บัญชี แพทย์ ทันตแพทย์ และการท่องเที่ยว

การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี

          เป้าหมาย คือ ทำให้อาเซียนสามารถเป็นฐานการลงทุน โดยปรับปรุงนโยบายการลงทุนให้เสรีและเปิดกว้างมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน และเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมในโลกที่มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น

การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น

          เป้าหมาย คือ การรวมตัวของตลาดเงินและตลาดทุน ภายในปี 2558 เพื่ออำนวยความสะดวกการค้าการลงทุนและการเคลื่อนย้ายเงินทุนในภูมิภาคเพิ่มขึ้น ตามที่ระบุไว้ในแผนงานการรวมกลุ่มทางการเงินและการคลังของอาเซียน (Roadmap for Monetary and Financial Integration of ASEAN: RIA-Fin) ใน 5 ด้านหลัก คือ

          – การเปิดเสรีบริการด้านการเงิน (Financial Service Liberalization)

           แบบก้าวหน้า ภายในปี 2558 ยกเว้นสาขาย่อยบางสาขาและธุรกรรมบางรายการ โดยมีความยืดหยุ่นที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ปัจจุบัน อาเซียนได้สรุปผลการเจรจาจัดทาข้อผูกพันการเปิดตลาดบริการทางการเงินไปแล้ว 5 รอบ

          – การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายบัญชีทุน (Capital Account Liberalisation)

          โดยการยกเลิกมาตรการการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย (capital controls) และข้อจำกัดต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น ครอบคลุมการยกเลิกข้อจากัดในการเคลื่อนย้ายเงินบัญชีเดินสะพัดและเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รวมถึงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio flows)

          – การพัฒนาตลาดทุน (Capital Market Development)

          โดยการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระยะยาว สำหรับการพัฒนาตลาดทุนของอาเซียน เพื่อให้เกิดความร่วมมือของตลาดทุนระหว่างประเทศในอาเซียน โดยอาเซียนได้จัดทาแผนปฏิบัติการ เพื่อไปสู่การพัฒนาตลาดทุนของอาเซียนอย่างบูรณาการ (“Implementation Plan for an Integrated Capital Market”) เพื่อเสริมสร้างการเข้าถึงตลาด ความเชื่อมโยงกัน และการมีสภาพคล่อง

          – ความมีเสถียรภาพและการรวมตัวทางการเงินในเอเชียตะวันออก มาตรการสำคัญ

           ได้แก่ ความคิดริเริ่มเชียงใหม่พหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) ซึ่งเป็นความตกลงการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบพหุภาคีในอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาสภาพคล่องระยะสั้น มีวงเงิน 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 24 มีนาคม 2553 ความริเริ่มอื่น ได้แก่ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้เอเชีย (Asian Bond Market Initiative: AMBI) เมื่อปี 2548 เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้สกุลเงินตราท้องถิ่นที่ลึกซึ้งในอาเซียน+3 และเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 อาเซียนได้จัดตั้งองค์กรค้ำประกันสินเชื่อและการลงทุน (Credit Guarantee and Investment Facility: CGIF) เพื่อสนับสนุนการออกพันธบัตรตราสารหนี้ของภาคเอกชนในอาเซียน+3

          – การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและการเฝ้าติดตาม

           อาเซียนได้เริ่มกระบวนการระวังภัยทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2542 รวมทั้งสนับสนุนการหารือเชิงนโยบายระดับภูมิภาค อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน อาเซียนได้จัดตั้งหน่วยระวังภัยทางเศรษฐกิจและการเงินของอาเซียน (Macroeconomic and Finance Surveillance Office: MFSO) ณ สานักงานเลขาธิการอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการติดตามและเฝ้าระวังภัยในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

ความร่วมมือรายสาขาอื่นๆ

          ครอบคลุมถึง ความร่วมมือด้านเกษตร อาหาร และป่าไม้ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (การคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน) ความร่วมมือด้านเหมืองแร่ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือด้านการเงิน ความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการพัฒนาเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (IAI) เป็นการดำเนินงานตามแผนงาน/ข้อตกลงที่ได้มีการเห็นชอบร่วมกัน โดยมีรัฐมนตรีรายสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบ

                ตามแผนการดำเนินการเพื่อมุ่งไปสู่การเป็น AEC และได้มอบหมายให้ประเทศต่างๆ ทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลัก (Country Coordinators) ดังนี้

                พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร (Agro-based products) และสาขาประมง (Fisheries)

                มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง (Rubber-based products) และสาขาสิ่งทอ (Textiles and Apparels)

                ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)

                ไทย สาขาการท่องเที่ยว (Tourism) และสาขาการบิน (Air Travel)

                เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์ (Logistic)

[smartslider3 slider="9"]