Amazing AEC – เลือกตั้งแล้วยังไงต่อ?(จบ)

0
566

บทความที่แล้วผมทิ้งท้ายไว้ว่าเวียดนามซึ่งเพิ่งเริ่มปฏิรูปการศึกษาเมื่อปีพ.ศ. 2529 ในสภาพประเทศที่ยับเยินแทบจะสิ้น ชาติจากสงคราม และฐานะรัฐบาลที่มีงบประมาณเพียงน้อยนิดแต่ก็ยังสามารถปฏิรูปการศึกษาได้สำเร็จ

แม้ว่ารัฐบาลเวียดนามจะเริ่มปฏิรูปประเทศปฏิรูปการศึกษาด้วยงบประมาณอันน้อยนิด น้อยกว่าประเทศไทย และด้วยสภาพความยากจนกว่าประเทศไทย โรงเรียนในเวียดนามมีห้องเรียนไม่เพียงพอให้เด็กทุกคนได้นั่งเรียนพร้อมๆกัน ดังนั้นโรงเรียนในเวียดนามจึงต้องแบ่งเด็กนักเรียนให้มาเรียนสองรอบคือรอบเช้าและรอบบ่าย เด็กที่เรียนรอบเช้าพ่อจะเป็นคนมาส่ง ส่งเสร็จพ่อก็ไปทำงาน พอเรียนจบแม่ก็จะมารับ ส่วนจะไปเรียนพิเศษต่อหรือจะกลับบ้านเลยก็แล้วแต่ กำลังทรัพย์ของแต่ละบ้าน ดังนั้นถ้าไปเที่ยวเวียดนามแล้วนั่งรถผ่านโรงเรียนเวียดนามในตอนเที่ยงๆ เราก็จะเห็นบรรดา แม่ๆมารอรับลูกกันเต็มหน้าโรงเรียน

การมาส่งและรอรับลูกนั้นเป็นวัฒนธรรมของพ่อแม่ชาวเวียดนาม เพราะโฮจิมินห์หรือลุงโฮของชาวบ้านได้ปลูกฝังแนวคิด เรื่องความสำคัญของการศึกษาซึ่งเขาได้รับอิทธิพลมาจากขงจื๊อจนฝังเข้าไปในหัวของคนเวียดนามทุกคนว่าการศึกษาเป็น เรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของชีวิต พ่อแม่เวียดนามจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้ลูกของตนได้รับการศึกษาให้ดีที่สุด นอกจากจะต้องส่งเสียและคอยมารับส่งลูกแล้ว หากโรงเรียนมีกิจกรรมอะไรให้ผู้ปกครองช่วยเหลือ พ่อแม่ชาวเวียดนาม ก็จะเต็มใจช่วยเหลือโรงเรียนอย่างเต็มที่

ในขณะเดียวกันเด็กนักเรียนเวียดนามก็จะตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ และมีทัศนคติว่าต้องตั้งใจเรียนและต้องเรียนให้ได้ดีๆ เพราะนั่นหมายถึงอนาคตของตัวเองที่ดี ตามการปลูกฝังของพ่อแม่ บวกกับภาพ “เกือบสิ้นชาติ” ที่ฝังใจพวกเขา ทำให้ เด็กเวียดนามมีความมุมานะและมุ่งมั่นเกินเด็กไทยและเด็กชาติอื่นๆ

ส่วนครูเวียดนามแม้ว่าเงินเดือนจะน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับครูไทย แต่รัฐบาลเวียดนามก็มีนโยบายให้ครูมีหน้าที่สอน นักเรียนเป็นหลัก ครูไม่ต้องกังวลกับหน้าที่อื่นๆหรือไปเสียเวลากับการเขียนประเมินผลงานตัวเองเหมือนกับครูไทย การประเมินผลงานครูเวียดนามก็ประเมินจากผลงานการสอนเป็นหลัก

แม้สภาพอาคารเรียนจะด้อยกว่าและมีคอมพิวเตอร์น้อยกว่าโรงเรียนของไทย แต่รัฐบาลเวียดนามโดยความร่วมมือของภาค เอกชนก็เชื่อมโยงทุกโรงเรียนในเวียดนามด้วยอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้นักเรียนเวียดนามสามารถใช้อินเตอร์เน็ต ความเร็วสูงสืบค้นข้อมูลต่างๆได้อย่างรวดเร็วสะดวกสบายกว่านักเรียนไทย

ธนาคารโลกมาทำการสำรวจสภาพโรงเรียน ระบบการเรียนการสอนในเวียดนาม และเขียนเป็นรายงานว่าแม้ว่าสภาพทาง กายภาพจะค่อนข้างเสื่อมโทรม แต่คุณภาพการเรียนการสอนในเวียดนามได้มาตรฐานของธนาคารโลก และผลการทด สอบของ PISA : Programme for International Assessment ทั้งสามวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการอ่านเพื่อทำ ความเข้าใจซึ่งเป็นวิชาสำคัญสำหรับโลกอนาคต ก็สะท้อนว่าเด็กเวียดนามนั้นเก่งทิ้งขาดเด็กไทยและเด็กในโลกตะวันตก อีกหลายชาติ

ระบบการศึกษาในสิงคโปร์นั่นไม่ต้องพูดถึงเพราะในหลายๆการทดสอบนั้น เด็กสิงคโปร์เก่งเป็นที่หนึ่งของโลก ระบบ การศึกษาก็มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงติดอันดับโลก และมีพัฒนาการต่อเนื่องตลอด สิงคโปร์สามารถพัฒนาจาก ประเทศระดับเดียวกับไทยให้กลายไปเป็นประเทศพัฒนาแล้วชั้นแนวหน้าของโลกได้ก็เพราะคุณภาพของคนของเราที่ดี เยี่ยมติดอันดับโลกนั่นเอง

การปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นการบ้านข้อใหญ่ข้อยากที่รัฐบาลใหม่จะต้องทำให้สำเร็จ ซึ่งเวียดนามทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว

[smartslider3 slider="9"]