Amazing AEC – ส่งเสริมการอ่านแบบเกาหลีใต้ (1)

0
548

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยผลสำรวจการอ่านของปีพ.ศ. 2561 พบว่าคนไทยใช้เวลาอ่าน หนังสือเฉลี่ยวันละ 80 นาที เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนเล็กน้อยครั้ง คนไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปอ่านหนังสือกัน ร 78.8 เปอร์เซ็นต์หรือคิดเป็น 49.7 ล้านคนโดยกลุ่มวัยรุ่นใช้เวลาอ่านหนังสือมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวัยอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผย 10 จังหวัดที่คนอ่านหนังสือกันมากที่สุดของปีพ.ศ. 2561 โดยสำรวจคนในแต่ละจังหวัดที่มีอายุ ตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เรียงลำดับดังนี้ 1 กรุงเทพ อ่านหนังสือ 92.9 เปอร์เซ็นต์ 2 สมุทรปราการ อ่านหนังสือ 92.7 เปอร์เซ็นต์ 3 ภูเก็ต อ่านหนังสือ 91.3 เปอร์เซ็นต์ 4 ขอนแก่น อ่านหนังสือ 90.5 เปอร์เซ็นต์ 5 สระบุรี อ่านหนังสือ 90.1 เปอร์เซ็นต์ 6 อุบลราชธานี อ่านหนังสือ 88.8 เปอร์เซ็นต์เปอร์เซ็นต์ 7 แพร่ อ่านหนังสือ 87.6 เปอร์เซ็นต์ 8 ตรัง อ่านหนังสือ 87.2 เปอร์เซ็นต์ 9 นนทบุรี อ่านหนังสือ 86.6 เปอร์เซ็นต์ และ10 ปทุมธานี อ่านหนังสือ 86.2 เปอร์เซ็นต์

เมื่อถามคนอายุเกิน 6 ปีขึ้นไปที่ไม่อ่านหนังสือว่าเพราะเหตุใดจึงไม่อ่านหนังสือ โดยให้เลือกคำตอบได้ไม่เกิน 2 ข้อ พบว่า สาเหตุที่คนไทยไม่อ่านหนังสือเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1 ชอบดูทีวี 30.3 เปอร์เซ็นต์ 2 ไม่ชอบอ่านหรือไม่ สนใจ 25.2 เปอร์เซ็นต์ 3 อ่านหนังสือไม่ออก 25 เปอร์เซ็นต์ 4 สายตาไม่ดี 22.1 เปอร์เซ็นต์ 5 ไม่มีเวลาอ่าน 20.0 เปอร์เซ็นต์

ผมคิดว่าสถิติต่างๆเหล่านี้ดูจะดีเกินจริงไปสักนิด เพราะเท่าที่พูดคุยโดยส่วนตัวผมพบว่าคนไทยไม่ค่อยจะอ่านหนังสือกัน เท่าไหร่ แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรไปคัดค้านผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผมจึงจะขอสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ การส่งเสริมการอ่านหนังสือจากหนังสือเล่มหนึ่งของเกาหลีใต้ที่ดีมากๆเขียนโดย Nam Mi-Young และแปลเป็นภาษาไทย แล้วชื่อ “10 นาทีมหัศจรรย์ ยามเช้าสร้างลูกรักการอ่าน” โดยคุณกาญจนา ประสพเนตร มาให้อ่านกันดีกว่า

องค์กรพัฒนาการศึกษาด้านการอ่านของเกาหลีใต้ซึ่งมีหน้าที่รณรงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านพบว่าเด็กประถมของเกาหลีใต้ ส่วนมากจะปวดหัวและไม่มีความสุขเมื่อต้องอ่านหนังสือ โดยมีสาเหตุสำคัญคือ 1 ในวันหนึ่งๆไม่มีเวลาที่ แบ่งไว้สำหรับการอ่านหนังสือโดยเฉพาะ 2 อยากจะอ่านแต่ไม่มีเวลาเพราะต้องไปเรียนพิเศษ 3 เป็นคนไม่ชอบอ่าน หนังสือจึงไม่อยากอ่าน 4 การอ่านหนังสือเป็นเรื่องน่าเบื่อ 5 ไม่มีหนังสือที่อยากอ่านอยู่ใกล้ตัว 6 เข้าถึงสื่ออินเตอร์เน็ต ได้ง่ายและใกล้ตัวกว่าหนังสือ และ 7 หนังสือที่อ่านเสริมไม่ได้ออกข้อสอบ พ่อแม่จึงไม่ได้ส่งเสริมให้อ่าน

องค์กรพัฒนาฯ ยังพบอีกว่าเด็กจะใช้เวลาไปกับการใช้สมองซีกขวามากกว่าสมองซีกซ้ายหลายเท่า เพราะการดูทีวี วิดีโอ เล่นเกมส์ทางอินเตอร์เน็ต ฟังเพลง อ่านการ์ตูน นั้นเป็นการใช้สมองซีกขวาซึ่งทำหน้าที่ด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่การใช้เวลาของเด็กในแต่ละวันโดยเฉพาะในโรงเรียนนั้นเด็กจะต้องใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าสมองซีกขวา เมื่อเด็กไม่สามารถใช้สมองซีกซ้ายที่ทำหน้าที่ด้านเรียนรู้ภาษา การคิดอย่างเป็น ระบบหรือการคิดอย่างมีเหตุผลได้ดังใจ การใช้ชีวิตในโรงเรียนของเด็กก็ไม่มีทางที่จะมีความสุขขึ้นมาได้ ต่างไปจากเวลาที่พวกเขาดูทีวี อ่านการ์ตูน หรือเล่น อินเตอร์เน็ตซึ่งเด็กจะมีความสุข แต่พอต้องอ่านหนังสือก็จะไม่มีความสุขขึ้นมาทันที

ดังนั้นเกาหลีใต้จึงพยายามหาวิธีการที่จะทำให้เด็กๆมีความสุขที่โรงเรียน โดยเขามีข้อสรุปว่าโรงเรียนที่เด็กๆมีความสุข คือโรงเรียนที่ให้เด็กๆได้อ่านหนังสือ 10 นาทีในตอนเช้าทุกวัน โรงเรียนที่น่าเบื่อ เครียด จะยิ่งทำให้นักเรียนรู้สึกแย่และ จะพยายามหนีเรียนไปเล่นเกมส์ เล่นอินเตอร์เน็ต อ่านการ์ตูนหรือฟังเพลง ซึ่งเป็นการกระตุ้นสมองเฉพาะซีกขวา ขณะที่ สมองซีกซ้ายซึ่งเป็นสมองด้านภาษาและการใช้เหตุผลจะค่อยๆฝ่อลงไปเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลทำให้การเรียนยิ่งแย่ลงไปอีก

เกาหลีใต้คิดว่า นักกีฬายังต้องมีการอุ่นเครื่องก่อนการแข่งขันฉันใด นักเรียนก็ต้องมีการอุ่นเครื่องก่อนการเรียนด้วยฉันนั้น การอ่านหนังสือ 10 นาทีตอนเช้าทุกวันที่โรงเรียนเปรียบเสมือนการอุ่นเครื่องก่อนการเรียน แนวคิดแบบนี้สหรัฐ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ นิวซีแลนด์ และสวีเดน ก็ได้เริ่มทำกันแล้วและได้ผลดีกันทุกประเทศ

สัปดาห์หน้าอ่านต่อครับว่าเกาหลีใต้เขาส่งเสริมการอ่านกันอย่างไร เด็กจึงรักการอ่านประเทศเขาเลยเจริญเร็วกว่าเรา

[smartslider3 slider="9"]