Home DailyNews Amazing AEC 2019 Amazing AEC – ส่งเสริมการอ่านแบบเกาหลีใต้ (3)

Amazing AEC – ส่งเสริมการอ่านแบบเกาหลีใต้ (3)

0
588
[smartslider3 slider="7"]

องค์กรพัฒนาด้านการอ่านของเกาหลีใต้ ได้ให้นิยามของหนังสือดีไว้อย่างน่าสนใจว่า “หนังสือที่ดี” คือหนังสือที่ผ่านการพิสูจน์ของกาลเวลาและสถานที่ เป็นหนังสือที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต เป็นหนังสือที่มีตัวละครเป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์สุจริต เป็นหนังสือที่เขียนด้วยภาษาสุภาพสละสลวย มีภาพประกอบและรูปเล่มสวยงาม ใช้ตัวอักษรดูดีและกระดาษดีมีคุณภาพ

ส่วนการเลือกหนังสือให้ลูกที่มีความชอบในการอ่านต่างกัน เขาก็มีข้อแนะนำที่ผ่านการวิจัยมาแล้วซึ่งคุณพ่อคุณแม่น่าจะรู้เอาไว้ “ลูกที่อ่านมาก” ลองดูว่าในบรรดาหนังสือที่ลูกเคยอ่านไปแล้วนั้นมีหนังสือที่เด็กไม่ควรอ่านรวมอยู่ด้วยหรือไม่? ถ้าไม่มีก็ยอมให้ลูกมีสิทธิ์เลือกหนังสืออ่านได้มากขึ้นด้วยตัวเอง ส่วน “ลูกที่ไม่อ่านหนังสือเลย” ควรจะเริ่มให้อ่านด้วย หนังสือภาพก่อน พอได้ลองอ่านเขาจะเกิดความสนใจในหนังสือขึ้นมาเอง

สำหรับ “ลูกที่ชอบอ่านหนังสือเพียงแนวเดียว” ให้ลองเลือกหนังสือที่ดีและสนุกที่สุดของแนวอื่นๆ ให้ลูกลองอ่านดู
ส่วน “ลูกที่อ่านทุกอย่าง” ถ้าโตเกินประถม 5 ไปแล้ว ลองแนะนำให้ลูกอ่านเป็นแนวๆไป ถ้า “ลูกมีนิสัยอ่านแบบลวกๆ” เพื่อให้ลูกมีจิตใจสงบและมีสมาธิ ลองเปิดเพลงเบาๆให้ลูกฟังขณะอ่านหนังสือ หรือลองเล่นเกมใช้ตะเกียบคีบเมล็ดถั่ว กับลูก หรือลองให้ลูกอ่านนิยายแนวสืบสวนดู

จากการวิจัยของ Nam Mi-Young ผู้เขียนหนังสือ “10 นาทีมหัศจรรย์ยามเช้า สร้างลูกรักการอ่าน” เขาพบว่า ต่อให้พ่อแม่ ใส่ใจการศึกษาของลูกมากแค่ไหน หรือทุ่มเทเงินทองกับการเรียนพิเศษมากเท่าไหร่ แต่ถ้าที่บ้านมีหนังสือน้อยก็จะไม่ สามารถทำให้ลูกชอบอ่านหนังสือขึ้นมาได้ เด็กเกาหลีใต้ที่ชอบอ่านหนังสือล้วนเป็นเด็กในครอบครัวที่มีหนังสือมากและ มีหนังสือของตัวเองมากด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่มีหนังสือมากแต่กลับไม่มีหนังสือของ ลูกเลยจะส่งผลให้ลูกนอกจากจะไม่ชอบอ่านหนังสือแล้วยังจะทำให้ลูกกลัวหนังสืออีกด้วย

ที่เกาหลีใต้เขามีวิธีการวัดว่าลูกของเราเป็นคนร่ำรวยหรือยากจน “หนังสือ” กันแน่? โดยเริ่มจากการรื้อหนังสือในบ้านมานับดูว่ามีทั้งหมดกี่เล่ม เมื่อนับได้แล้วให้เอา 10 มาคูณกับอายุของลูก ถ้าลูกมีหนังสือมากกว่าจำนวณที่คูณได้ก็ถือว่าลูก ของเราเป็น “คนร่ำรวยหนังสือ” แต่ถ้าลูกมีหนังสือน้อยกว่า 3 เท่าของอายุลูกแสดงว่าลูกของเราเป็น “คนยากจนหนังสือ”

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วเริ่มเห็นด้วยกับแนวคิดกับการให้ลูกอ่านหนังสือตอนเช้าที่บ้านหรือที่โรงเรียนวันละ 10 นาที ก็ควรจะเริ่มต้นด้วยการหาหนังสือให้เป็นของขวัญให้ลูกสักเล่ม โดยองค์กรพัฒนาด้านการอ่านของเกาหลีใต้เขาได้พบว่าการให้ หนังสือเป็นของขวัญนั้นลูกจะสามารถเก็บไว้ได้ตลอดชีวิตนานกว่าของขวัญอื่นๆ เช่นเสื้อผ้าเมื่อโตขึ้นก็ต้องบริจาคหรือทิ้งไป ส่วนของเล่นนั้นเล่นไปไม่นานก็มักจะพังและต้องทิ้งไปในที่สุด ไม่เหมือนหนังสือที่เก็บเอาไว้ได้นาน

นอกจากนี้การให้หนังสือเป็นของขวัญยังสื่อถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของกันและกัน ซึ่งจะทำให้ลูกมองเห็นว่าคุณ พ่อคุณแม่ที่ให้หนังสือนั้นเป็นคนมีความรู้ น่าเคารพนับถือ และลูกที่เคยได้รับหนังสือเป็นของขวัญจะกลายเป็นคนที่ชอบ ให้หนังสือเป็นของขวัญเช่นกัน นี่เป็นวิธีที่ดีและได้ผลอย่างดียิ่งในการปลูกฝังนิสัยให้ลูกมีความสุขที่ได้รับหนังสือและ ชอบซื้อหนังสือ ทั้งยังจะช่วยให้ลูกมีวิจารณญาณในการเลือกซื้อหนังสือดีๆให้ผู้อื่นเป็นของขวัญด้วย

คุณพ่อคุณแม่ควรจะพาลูกไปร้านหนังสือ เพราะเวลาที่ไปร้านหนังสือและเห็นหนังสือมากมาย ลูกจะรู้สึกว่าตัวเขาช่าง เหมือนกบในกะลาเพราะมีหนังสืออีกเป็นจำนวนมากที่เขาจะอ่านแบบไม่มีวันหมด ซึ่งจะกระตุ้นให้ลูกรู้สึกอยากอ่านหนังสือขึ้นมาทันที ต่อมาลูกจะเกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็นขึ้นมาว่าผู้รู้ที่เป็นคนเขียนหนังสือเหล่านั้นเป็นคนแบบไหน และจะเกิดความรู้สึกอยากเป็นผู้รู้เหมือนคนเขียนหนังสือเหล่านั้นบ้าง ความคิดเหล่านี้จะช่วยทำให้ลูกเข้ามาใกล้ชิดผูกพัน หนังสือในเวลาไม่นาน ครั้งแรกที่พาลูกไปร้านหนังสือควรพาไปร้านหนังสือเด็กที่ตกแต่งสวยงามเป็นระเบียบและอยู่ใกล้ๆบ้าน ยิ่งถ้าเจ้าของร้านหรือคนขายเป็นคนที่คุ้นหน้ากันก็ยิ่งดี เพราะเขาจะทักทายและยิ้มให้ลูกๆทำให้รู้สึกอบอุ่นคุ้น เคยเมื่อเข้าไปในร้าน

[smartslider3 slider="9"]

NO COMMENTS