Amazing AEC – ส่งเสริมการอ่านแบบสิงคโปร์

0
615

สิงคโปร์ซึ่งวันนี้เด็กของเขาเก่งที่สุดในโลกจากการประเมินผลสามวิชาซึ่งจำเป็นต่อชีวิตในอนาคตคือ การอ่านเพื่อการ ทำความเข้าใจ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วัดโดย PISA (Programme for Internatioanl Student Assessment) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการอ่านอย่างมาก

ทุกๆปี ช่วงเดือนพฤษภาคมเขาจะจัดงาน Read Singapore เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้คนรักการอ่าน ซึ่งได้รับแนวคิดมา จากโครงการ One Book One City ซึ่งจัดกันในสหรัฐ ยุโรปและออสเตรเลีย แนวคิดก็คือเขาจะเลือกหนังสือดีๆมา 1 เล่ม แล้วรณรงค์ให้คนในเมืองเดียวกันอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน

การที่คนในเมืองเดียวกันอ่านหนังสือเล่มเดียวกันจะทำให้ภาครัฐสามารถจัดกิจกรรมต่อเนื่องได้ง่ายมากกว่า แต่ละคนอ่านหนังสือคนละเล่ม ยกตัวอย่างเช่นการจัดการอภิปราย จัดการแข่งขันวิจารณ์หนังสือทั้งระดับผู้ใหญ่และระดับเยาวชน การแปลงหนังสือให้เป็นละครเพื่อไปแสดงต่อ ฯลฯ

สิงคโปร์ซึ่งประชากรหลักมีสามเชื้อชาติคือ จีน มลายูและคนอินเดีย เขาจึงต้องแปลหนังสือเป็นสี่ภาษา คือภาษาอังกฤษ ภาษาราชการหลัก ภาษาจีนกลาง ภาษามลายูและภาษาทมิฬ ซึ่งคนอินเดียในสิงคโปร์ใช้เป็นหลัก เพื่อให้คนทั้งสามเชื้อชาติ ได้อ่านหนังสือดีๆเหมือนๆกันและภาครัฐสามารถจัดกิจกรรมต่อเนื่องได้

ขณะที่เมืองไทยนิยมจัดแข่งขันวิ่งมาราธอน และเคยมีการจัดแข่งดูหนังมาราธอน แต่เรายังไม่เคยจัดแบบ สิงคโปร์ซึ่งมีการ จัดกิจกรรมค่ายหนังสือมาราธอน แข่งกันอ่านหนังสือต่อเนื่อง 6 วัน 6 คืนหรือ 144 ชั่วโมง น่าสนุกดี

สิงคโปร์ยังส่งเสริมการอ่านให้กับคนทุกอาชีพด้วยการส่งเสริมให้จัดตั้งชมรมการอ่าน Reading Club โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนหลากหลายอาชีพรักการอ่าน คนขับแท็กซี่ พ่อค้าแม่ค้า คนขายอาหาร เมืองไทยถ้าจัดชมรมการอ่านให้วิน มอเตอร์ไซค์ พี่ๆคงอ่านหนังสือจบกันคนละหลายเล่มต่อปี ส่วนพี่ๆที่ขับแท็กซี่ให้สนามบินสุวรรณภูมิและต้องรอคิวกัน ครั้งละหลายๆชั่วโมงคงได้อ่านกันได้ปีละหลายสิบเล่มเลยทีเดียว

สายการบินแห่งหนึ่งของสิงคโปร์ร่วมสนับสนุนนโยบายการส่งเสริมการอ่านด้วยการจัดกิจกรรมคนรักการอ่านบนเครื่องบิน เมื่อผู้โดยสารจองตั๋วกับสายการบินนี้สามารถยืมหนังสือไปอ่านบนเครื่องบินได้

กิจกรรม 10,000 and more Fathers reading ที่มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้คุณพ่ออ่านหนังสือให้ลูกฟัง ซึ่งมีคุณพ่อสิงคโปร์ นับหมื่นคนสมัครเข้าร่วมโครงการ ญี่ปุ่นก็มีโครงการแบบนี้แต่เน้นไปที่คุณแม่ให้อ่านให้ลูกฟัง

สำหรับผู้มีปัญหาทางสายตา ในช่วงนี้รัฐบาลสิงคโปร์ก็จะรณรงค์ให้คนที่มีจิตอาสา มาช่วยกันอ่านหนังสือเพื่อบันทึกเสียง เพื่อให้ผู้มีปัญหาทางสายตามายืมไปฟังได้ ส่วนครอบครัวที่มีรายได้น้อยรัฐบาลสิงคโปร์ก็จะแจกถุงหนังสือที่มีหนังสือ คุณภาพดีเหมาะสมกับเด็กวัย 4 ถึง 8 ขวบแจกให้เด็กได้อ่านหนังสือกันด้วย

นอกจากสิงคโปร์แล้ว ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ก็เป็นอีกสองประเทศที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการอ่านที่ชัดเจน เลยทำให้คนทั้ง สามประเทศนี้รักการอ่านมากกว่าคนประเทศอื่นๆ และเมื่อประเทศล่มสลายเพราะสงคราม เมื่อสงครามสงบญี่ปุ่นและ เกาหลีใต้ต่างก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถยกระดับประเทศตัวเองให้กลายเป็นประเทศชั้นนำของโลกได้ ก็เพราะคนของเขามีนิสัยรักการอ่าน จึงมีความรู้เอามาพัฒนาฟื้นฟูประเทศได้

ส่วนสิงคโปร์เมื่อตอนแยกประเทศกับมาเลเซียในปีพ.ศ. 2508 นั้นระดับการพัฒนาของประเทศไม่ได้ต่างจากประเทศ ไทยเลย แต่ผ่านไปไม่ถึง 60 ปี วันนี้สิงคโปร์สามารถยกระดับเป็นประเทศพัฒนาแล้วไปได้สำเร็จ ส่วนไทยเราซึ่งคน ไม่ค่อยรักการอ่านยังคงติดหล่มอยู่กับการเป็นประเทศรายได้ปานกลางประเทศกำลังพัฒนาต่อไปอีกนาน

[smartslider3 slider="9"]