ยุทธศาสตร์สู่ AEC ตอนที่ 76 แก่คือวิกฤติ?

0
430

คนสูงอายุนอกจากจะไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจอย่างที่ผมได้อธิบาย ไปเมื่อวันพุธที่แล้วนั้น คนสูงอายุเองกลับจะกลายเป็นภาระของสังคมที่นับวันวันจะใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ในยุโรป งบประมาณที่ใช้เพื่อดูแลผู้สูงอายุเป็นสัดส่วนสูงถึง 27  เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ขณะที่สัดส่วนดังกล่าวของญี่ปุ่นและ สหรัฐอยู่ที่ 17 และ  15  เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

นอกจากเรื่องปัญหาด้านสุขภาพสี่เรื่องใหญ่ คือ โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุนและโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร จะเป็นโรคหลักที่รุมเร้าคนสูงอายุแล้ว โรคเกี่ยวกับจิตใจและอารมณ์ก็เป็นปัญหาใหญ่ของคนสูงอายุเช่นกัน โรคเยอะ อารมณ์ปั่นป่วน ขี้หลงขี้ลืม ทำให้คนสูงอายุกลายเป็นภาระของครอบครัวและสังคม

ในญี่ปุ่นคนสูงอายุเกือบ 7 ล้านคนต้องอยู่ตามลำพังดูแลตัวเอง ขณะที่อีก 5 ล้านคนเศษพึ่งตัวเองไม่ได้และต้อง การการดูแลระยะยาว ในเกาหลีใต้เปอร์เซ็นต์ของคนสูงอายุที่ต้องการการดูแลระยะยาวสูงถึง 19 เปอร์เซ็นต์ของ คนสูงอายุทั้งหมด ในประเทศจีนที่คนรุ่นหนุ่มรุ่นสาวอพยพเข้าเมืองมาทำงาน ทิ้งคนสูงอายุให้อยู่กันเองตามลำพัง จนกลายเป็นหมู่บ้านคนสูงอายุ ทางการจีนต้องใช้วิธีย้ายคนสูงอายุเหล่านั้นให้มาอยู่ด้วยกัน ใช้คนอายุ 70 ปีดูแล คนอายุ 80 ปี คนอายุ 80 ปีดูแลคนอายุ 90 ปี ดูแลกันเป็นขั้นไป เมื่อคนสูงอายุมาอยู่รวมกันนอกจากจะเป็นการ เปิดโอกาสให้คนสูงอายุเหล่านั้นได้มีกิจกรรมร่วมกันแล้ว ในด้านการดูแลและรักษาพยาบาลก็ทำได้ง่ายขึ้น

ปัญหาต่างๆเหล่านี้ไทยเรากำลังเริ่มเจอและจะเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ผมคิดว่าไทยเรายังเตรียมการรับมือเรื่องนี้ช้าอยู่มากโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ซึ่งมีอัตราคนสูงอายุใกล้เคียงกับเรา ที่สิงคโปร์เขามีกรรมการต่างๆ หลายระดับโดยเน้นให้เป็นตัวแทนคนสูงอายุอย่างแท้จริงเพื่อมาช่วยรับฟังปัญหาที่แท้จริงของคนสูงอายุและช่วย เป็นปากเป็นเสียงพูดจากับรัฐบาลในเรื่องต่างๆ รัฐบาลสิงคโปร์เน้นที่การทำให้คนสูงอายุสามารถพึ่งพาตนเอง ให้ได้ก่อน และให้บทบาทรัฐบาลเป็นบทบาทรอง ดังนั้นคนสิงคโปร์ทุกคนที่สมทบทุนเข้ากองทุนประกันสังคม Central Provident Fund ซึ่งแต่เดิมอนุญาตให้ผู้เอาประกันตนสามารถถอนเงินออมออกไปใช้ได้ตามที่ต้องการ วันนี้รัฐบาลสิงคโปร์ได้กำหนดวงเงินขั้นต่ำที่คนสูงอายุแต่ละคนต้องเหลือออมไว้กับ CPF ว่าจะต้องเพียงพอ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดูแลตัวเองทั้งค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและในยามเจ็บป่วยไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต ไม่สามารถถอนออกไปใช้ได้ตามต้องการเหมือนแต่ก่อน

รัฐบาลสิงคโปร์นอกจากจะเน้นการจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อที่คนสูงอายุจะได้มีกิจกรรมทำและสติปัญญาที่แจ่มใจแม้จะสูงวัยแล้ว เขายังเน้นการป้องกันมิให้คนสูงอายุต้องกลายเป็นคนพิการ ซึ่งนั่นหมายถึงภาระการดูแลที่เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าด้วยโครงการป้องกันการพิการระดับชาติ โครงการ Many Helping Hands ก็เป็นอีกโครงการที่รัฐบาลเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและเพื่อนบ้านในการดูแลและลดความ เครียดให้กับคนสูงอายุ ส่วนโครงการ Step Down Care  นั้นน่าสนใจอย่างยิ่งเพราะเขาเน้นการให้ทีมงานมืออาชีพ ที่ถูกอบรมมาเพื่อดูแลคนสูงอายุโดยเฉพาะให้เข้าไปช่วยดูแลคนสูงอายุตามบ้านหรือชุมชนโดยเฉพาะคนที่เพิ่ง ออกจากโรงพยาบาลเพื่อช่วยให้พักฟื้นอย่างรวดเร็วและดูแลตัวเองได้ตามสมควร ไทยเราแม้จะเริ่มช้าไป แต่ผมเห็นว่าเรายังมีโอกาสพลิกวิกฤติคนสูงอายุของไทยให้เป็นโอกาสของไทยได้ เดือนหน้ามาอ่านกันต่อครับ

[smartslider3 slider="9"]