ยุทธศาสตร์สู่ AEC ตอนที่ 38 อะเมซิ่งอินโดนีเซีย 2

0
442

จันทร์ที่แล้วผมทิ้งท้ายเอาไว้ว่า อินโดนีเซีย “เคยเป็น” สมาชิกโอเปก ที่ผมบอกว่า “เคยเป็น”  ก็เพราะ อินโดนีเซีย นี่เขามีน้ำมันมากมายนะครับ มีเหลือใช้ในประเทศจนสามารถส่งออกได้ ก็เลยได้เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ ผู้ส่งออกน้ำมัน “โอเปก”

ปัญหาอยู่ตรงที่ว่ารัฐบาลอินโดนีเซียนั้นดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดคือมีนโยบายอุดหนุนราคาพลังงาน มายาวนาน จนทำให้ราคาน้ำมันในอินโดนีเซียต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งส่งผลให้คนอินโดนีเซียมีนิสัยใช้น้ำมันกันอย่างฟุ่มเฟือย ในแต่ละปีคนอินโดนีเซียออกรถใหม่กันปีละเป็นล้านคัน ใช้น้ำมันกันเพลิน เพลินจนทำให้ในปี 2548 จากที่เคยเป็นประเทศส่งออกน้ำมัน อินโดนีเซียถึงกับต้องเริ่มนำเข้าน้ำมันเลยทีเดียวครับ ในที่สุดเมื่อถึงปี 2551 อินโดนีเซียก็ต้องลาออกจากการเป็นโอเปคครับ อะเมซิ่งมั้ยครับ?

แค่ลาออกจากการเป็นโอเปกก็แค่ “เสียหน้า” นะครับ ที่มันร้ายแรงกว่านั้นก็คือ การที่รัฐบาลอินโดนีเซียต้อง อุดหนุนราคาน้ำมันนั้นทำให้ในแต่ละปี รัฐบาลอินโดนีเซียต้องใช้เงินราวๆ 5-6 แสนล้านบาทเพื่อไปชดเชย ราคาน้ำมันซึ่งทำให้รัฐบาลมีงบประมาณสำหรับการลงทุนน้อยลง การพัฒนาประเทศก็เลยช้ากว่าประเทศอื่นๆเขา

พอเลิกอุดหนุนราคาน้ำมัน ก็เลยทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลต่อเนื่อง ให้ค่าโดยสาร ค่าขนส่ง ค่าครองชีพ ถีบตัวสูงขึ้นในทันที เงินเฟ้อก็เลยกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เรื้อรัง ของอินโดนีเซียในระยะหลายปีที่ผ่านมา

พอเงินเฟ้อสูง ค่าเงินรูเปี๊ยะก็เลยอ่อนค่า ธนาคารกลางของอินโดนีเซียก็เลยต้องขึ้นดอกเบี้ยสู้ ที่น่าสนใจก็คือ โครงสร้างการส่งออกของอินโดนีเซียนั้นค่อนข้างอะเมซิ่งและผิดจากประเทศอื่นๆตรงที่ว่าค่าเงินรูเปี๊ยะที่อ่อน ไม่ได้ช่วยให้อินโดนีเซียสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นได้ แต่โชคยังดีที่นักลงทุนต่างชาติยังมองเห็นว่าความใหญ่โตของ ตลาดภายในประเทศที่มีประชากรกว่า 250 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นคนหนุ่มคนสาวซึ่งต้องจับจ่ายใช้สอยกัน มากๆอยู่และโอกาสของอินโดนีเซียที่จะเติบโตได้อีกมากเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทำให้มีเงิน ทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องเศรษฐกิจอินโดนีเซียก็เลยยังเจริญเติบโตได้พอ สมควร

ตอนนี้โลกกำลังจับตาและนักวิชาการมากมายต่างก็คาดการณ์ตรงกันว่าอินโดนีเซียกำลังจะเติบโตขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่งในโลกในอีกไม่นานนะครับ

ที่น่าสนใจมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ แม้ว่าอินโดนีเซียจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งอาเซียน สำนักงานเลขาธิการของอาเซียนก็ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ต้า ประเทศสมาชิกของอาเซียนจึงต้องมีทูตสองคน คนหนึ่งเป็นทูตประจำประเทศอินโดนีเซียอีกคนเป็นทูตประจำสำนักเลขาธิการอาเซียนแต่ตอนผมเดินทาง ไปทำรายการ AEC กับเกษมสันต์ที่อินโดนีเซียปรากฎว่า ตลอด 5 วันในกรุงจาการ์ตานั้น ผมพบว่า มีคนอินโดนีเซียน้อยมากๆที่รู้จัก AEC  น่าอะเมซิ่งมากครับ

ลองสอบถามหลายๆฝ่ายก็ได้พบคำตอบที่น่าสนใจมากครับว่า การที่คนอินโดนีเซียไม่สนใจ AEC นั้นมีสาเหตุ สำคัญอยู่ 2เรื่องด้วยกันคือ หนึ่ง นักวิชาการ นักธุรกิจและนักการเมืองอินโดนีเซีย ต่างก็มีความเชื่อร่วมกันว่า การเปิดการค้าเสรีนั้น อินโดนีเซียเสียประโยชน์มากกว่าได้ประโยชน์ ที่เขาเชื่อเช่นนั้นก็เพราะตัวเลขการส่งออก นำเข้าในช่วงที่ผ่านมามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ คือไปเจรจาการค้าเสรีกับใคร อินโดนีเซียก็มีแต่ขาดดุลการค้าเขาร่ำไป

สอง ตลาดภายในประเทศของอินโดนีเซียที่ใหญ่โตมาก ธุรกิจต่างๆก็เลยไม่ค่อยสนใจที่จะผลิตเพื่อส่งออก ซักเท่าไหร่ แค่ผลิตให้ทันความต้องการภายในประเทศอินโดนีเซียเองก็ผลิตกันไม่ค่อยทันอยู่แล้ว

ด้วยสองเหตุผลดังกล่าว นอกจากจะทำให้ทุกภาคส่วนของอินโดนีเซียให้ความสนใจกับ AEC น้อยมากๆแล้ว ยังทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ใช้มาตรการกีดกันทางการค้าสูงมากเป็นอันดับสามของโลกเลยทีเดียว

อินโดนีเซียนี่ช่างมีอะไรๆที่น่าอะเมซิ่งจริงเลยนะครับ

[smartslider3 slider="9"]